วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

พัฒนาการจากยุคหินเก่า ยุคหินใหม่ สู่อารยะธรรมแรกของโลก

 พัฒนาการจากยุคหินเก่า ยุคหินใหม่ สู่อารยะธรรมแรกของโลก

จากบล็อกเรื่องการวิวัฒนาการของบรรพบุรุษของเราคราวที่แล้ว เมื่อมนุษย์ได้เริ่มรู้จักการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ทำให้เริ่มเกิดการอยู่รวมกับเป็นสังคมมนุษย์ ซึ่งในคราวนี้เราจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาของสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการวิวัฒนาการสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงให้เห็นถึงการพัฒนาด้านต่าง ๆ และความแตกต่างของแต่ละยุคสมัย ดังต่อไปนี้


ยุคหินเก่า Paleolithic Era (Old Stone Age)

    - มีดำรงชีวิตแบบเร่ร่อน อพยพไปเรื่อย ๆ ตามแหล่งอาหาร ใช้ชีวิตด้วยการล่าสัตว์ - หาของป่า และอาศัยอยู่ตามภูเขา ถ้ำ เผิงผา

    - ใช้เครื่องมือหินแบบง่าย ๆ ตัดหยาบ

    - รู้จักการใช้ไฟ

    - มีพัฒนาการทางด้านภาษา

    - รู้จักงานศิลปะ มีการวาดภาพบนผนังถ้ำและเผิงผา

    - มีความเชื่อเกี่ยวกับความตาย การฝังศพ

ที่มา http://www.ngwk.ac.th/web/social/em-orn/west-culture/page1.htm



ยุคหินใหม่ Neolithic Era (New Stone Age)

ในยุคหินใหม่ มนุษย์เริ่มอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและเป็นหลักแหล่ง มีการทำเกษตรกรรม จึงเริ่มมีเครื่องมือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างจากแต่ก่อน เมื่อการค้นพบแร่ทองแดง สำริด ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนของยุค นำไปสู่ยุคโลหะ ทำให้มีการพัฒนาทางด้านเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะด้านอาวุธ และเริ่มมีสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น จึงเริ่มนำไปสู่การมีอารยะธรรมเป็นของตนเอง

    -มีวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรม มีการตั้งถิ่นฐานถาวร อาศัยอยู่ตามที่ราบลุ่มและใกล้แม่น้ำซึ่งเหมาะสมกับการทำการเกษตรกรรม

    - ใช้เครื่องมือหินที่ได้รับการขัด ฝน ให้สวยงาม มีการปั้นหม้อ

    - เริ่มมีความแตกต่างทางสังคม เช่น มีหัวหน้ากลุ่ม มีผู้นำทางศาสนา(หมอผี)

    - มีงานศิลปะบนหม้อ และมีการทอผ้า

    - มีกิจกรรมการค้าที่สร้างรายได้ให้กับหมู่บ้าน (ค้าขายกันระหว่างหมู่บ้านกับหมู่บ้าน)

ที่มา https://www.catdumb.com/some-neolithic-still-eat-fish-378/



อารยะธรรมแรก The First Cities and Civilizations 

            เมืองเกิดจากการรวมกลุ่มกันของหมู่บ้านต่าง ๆ มีความหลากหลายของผู้คนมากขึ้นไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันกับครอบครัวตนเอง เมื่อมีประชากรมากขึ้นทำให้ต้องมีการจัดระเบียบพื้นที่และการอยู่รวมกัน อีกทั้งเป็นศูนย์กลางในการค้า มีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพในทุก ๆ ด้านจากยุคที่แล้ว ซึ่งลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกถึงการมีอารยะธรรม ได้แก่ กานเป็นเมืองที่มีพัฒนาการขั้นสูง การมีรัฐบาลในการปกครอง และการมีศาสนาอย่างเป็นทางการ

    -มีความก้าวหน้าทางด้านชลประทานซึ่งนำไปสู่การมีผลผลิตส่วนเกิน
    -มีสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และทันสมัยกว่า
    -มีระบบการปกครอง มีขอบเขตของพื้นที่เมือง แผนผัง มีกำแพงกำหนดขอบเขตและปกกันศัตรู มีศาสนา
    -การเพิ่มความซับซ้อนทางสังคม มีการแบ่งแยกชนชั้นอย่างชัดเจน
    -มีการค้าขายทางไกล ติดต่อเมืองกับเมือง
    -มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีภาษาและตัวอักษร(ซึ่งนำไปสู่ยุคประวัติศาสตร์)


อารยะธรรมลุ่มแม่น้ำ
            อารยะธรรมลุ่มแม่น้ำเป็นอารยะธรรมกลุ่มแรกที่เติบโตอย่างอิสระ ซึ่งจะตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำและสถานที่ที่มีแหล่งอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของประชากรที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอารยะธรรมลุ่มแม่น้ำมีอยู่ 4 แหล่งของโลก คือ
       1.อารยะธรรมเมโสโปเตเมีย     ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟตีส
        2.อารยะธรรมอียิปต์                ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำไนล์
       3.อารยะธรรมอินเดีย               เริ่มแรกตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ
        4.อารยะธรรมจีน                    ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห หรือ ฮวงเหอ

ที่มา https://www.pinterest.com/pin/489203578272115480/


        
            ตอนนี้เราจะเริ่มเห็นภาพแล้วว่าทำไม มนุษย์จึงเป็นสัตว์สังคม การอยู่รวมกันทำให้เกิดการปฎิสัมพันธ์กัน เป็นการแพร่กระจายทางด้านวัฒนธรรม เทคโนโลยี ระบบความคิด การเขียน และการใช้ภาษาในการสื่อสารเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้  ซึ่งเป็นปัจจัยนำไปสู๋การพัฒนาในด้านต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาของมนุษย์เกิดจากการที่มนุษย์ต้องการที่จะสร้างสิ่งที่อำนวยความสะดวกให้กับตนเอง เช่น วงล้อ ที่เผยแพร่มาจากเมโสโปเตเมีย ทำให้อียิปต์ก็หยิบยืมมาใช้ด้วย เพื่อความสะดวกในการคมนาคมทางบก 
ดังนั้น อารยะธรรมของมนุษย์จึงเริ่มวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนมีความเจริญรุ่งเรืองเหมือนในปัจจุบัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น