วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563

มี 3 คุณสมบัตินี้ก็เป็นมัคคุเทศก์ที่ดีได้

คุณสมบัติของการเป็นไกด์ที่ดี

มัคคุเทศก์ หรือไกด์ - Website1_60_Bp
ที่มาhttps://sites.google.com/site/website160bp/makhkhuthesk-hrux-kid


        มัคคุเทศก์ หรือ ไกด์ เป็นอาชีพที่มีความสำคัญมากในวงการการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งประเทศไทยรายได้ของเศรษฐกิจส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว โดยเฉพาะรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพราะแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยมีความสวยงามมากมาย และค่าครองชีพถูก จึงทำให้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวนานาประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีไกด์เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว รวมไปถึงควบคุมดูแลไม่ให้นักท่องเที่ยวทำลายสถานที่ท่องเที่ยวโดยไม่รู้ตัวและละเมิดกฏเกณฑ์ของประเทศไทย


    โดยมัคคุเทศก์ที่ดีควรมีคุณสมบัติ 3 ข้อต่อไปนี้

           1.กระบวนการทำงานของมัคคุเทศก์
 - เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงประวัติของสถานที่ท่องเที่ยวแบบสั้นๆ กระชับและครอบคลุมใจความสำคัญ เช่น การเปรียบเทียบยุคสมัยในการสร้างวัดไทยกับยุคสมัยของอารยะธรรมตะวันตก (ในกรณีที่นักท่องเที่ยวเป็นชาวตะวันตก )
- เมื่อนักท่องเที่ยวเป็นชาวต่างชาติ ยอมไม่ทราบถึงกฏกติกาข้อควรปฏิบัติในประเทศไทยตามขนบธรรมเนียม
ประเพณีอยู่แล้วดังนั้น ไกด์ต้องบอกข้อควรปฏิบัติและข้อไม่ควรปฏิบัติแก่นักท่องเที่ยวด้วยเพื่อความสะดวกใน
การเข้าชมสถานที่ เช่น การแต่งกายเข้าวัดไม่ควรใส่เสื้อกล้ามและกางเกงขาสั้น หรือ ควรถอดรองเท้าก่อนเข้าวัด
- ไกด์ควรบอกจุดห้องน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว และบอกจุดต่าง ๆ ที่นักท่องเที่ยวอาจ
ได้รับอันตรายได้หากไม่ระมัดระวัง เช่น ทางต่างระดับ เก็บของที่มีความแวววาวให้มิดชิดเพราะลิงอาจจะเข้ามา
ขโมยของได้
 - ไกด์ควรจะต้องปฏิบัติตามตารางทัวร์เป็นหลัก แต่ถ้าเวลามีความคลานเคลื่อน ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของไกด์เอง


พระบรมหาราชวัง และวัดพระแก้วฯ – SomethingJAM!
ที่มา https://www.somethingjam.com/the-grand-palaceth      


         2.เนื้อหาที่มัคคุเทศก์ควรนำเสนอ

    - เนื้อหาในการบรรยายของไกด์ควรครอบคลุมข้อมูลพื้นฐานของสถานที่นั้น ๆ
[หรือ 5W+1H = What,Were,When,Why,Who and How] เช่น นี่คืออะไร? สร้างขึ้นเมื่อไร? ทำไมถึงสร้างขึ้นมา?
   - หากนักท่องเที่ยวมีคำถาม ไกด์ควรตอบคำถามสั้น ๆ เพื่อป้องกันการถามต่อที่อาจจะกินเวลาทัวร์และทำให้
นักท่องเที่ยวที่ไม่ได้มีความสนใจจนเกิดเป็นความน่าเบื่อจนเกินไป
   - ไกด์ต้องรู้จุดหรือสถานที่ที่ต้องการบรยายข้อมูล มีการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
เช่น การเชื่องโยงลักษณะความแตกต่างของพระพุทธรูปสุโขทัยกับพระพุทธรูปอยุธยา
   - ควรตั้งคำถามให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมและควรยกตัวอย่างหรือการเปรียบเทียบประกอบความเข้าใจ



ญี่ปุ่นปลดล็อคมัคคุเทศก์ไม่ต้องมีใบอนุญาต รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ที่มา https://mgronline.com/japan/detail/9600000054739


        3.เทคนิคการนำชมและการพูดของมัคคุเทศก์

- ก่อนอื่นไกด์ต้องมีบุคคลิกที่ดี มีความมั่นใจ ควรแนะนำตัวเอง ยิ้ม และสบตากับนักท่องเที่ยว เพื่อสร้างมิตรภาพและความเป็นกันเองให้แก่นักท่องเที่ยว

- เมื่อจะเข้าไปชมสถานที่ ไกด์ต้องรู้จุดที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกสบายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น ไกด์พานักท่องเที่ยวไปยืนตรงใต้ร่มไม้เพื่ออธิบายข้อมูลสถานที่ และเป็นจุดที่หลบทางให้แก่นักท่องเที่ยวคนอื่นที่มาด้วย และต้องรู้จุดที่จะทำให้นักท่องเที่ยวได้ชมจุดไฮไลท์ของสถานที่ต่าง ๆ ได้ครบและสวยงามอย่างที่นักท่องเที่ยวต้องการ

- ลักษณะในการพานำชมทัวร์ที่ดี ไกด์จะต้องพาเดินและหันกลับมาเช็คนักท่องเที่ยวเป็นระยะๆ เพื่อเช็คว่านักท่องเที่ยวในกลุ่มทัวร์ได้เดินตามมาครบทุกคนหรือไม่ เพื่อป้องกันการหลงทาง

 - ลักษณะการพูดที่ดี ไกด์ต้องมีเทคนิคการพูดที่ดึงดูดความสนใจ มีการใช้เสียงหนักเสียงเบาเพื่อให้เนื้อหาน่าสนใจ รวมทั้งใช้ภาษากายในการทำท่าทางประกอบการบรรยาย แต่ไม่ควรใช้มากโดยไม่จำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดความสับสนของนักท่องเที่ยว เช่น เอามือปะสานกันไว้ด้านหน้าเพื่อไม่ให้แกว่งมือไปมา อีกทั้งยังสามารถนำลักษณะเด่นในการจำแนกความสำคัญของวัตถุเพื่อให้ลูกทัวร์และไกด์ง่ายต่อการทำความเข้าใจและอธิบาย เช่น สีของเจดีย์ นอกจากนี้ยังสามารถนำรูปภาพมาใช้ประกอบการบรรยายได้ เพราะสถานที่ท่องเที่ยวอาจมีข้อจำกัดในพื้นที่ในการอธิบาย เพื่อไม่ให้เกิดความแออัดและขวางทางนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น ก็สามารถนำรูปภาพมาประกอบการบรรยายก่อนเข้าไปในสถานที่จริง

    - ลักษณะการยืนพูด ไกด์ควรยืนหันหน้าให้กับลูกทัวร์หรือยืนหัน 45 องศาให้กับสถานที่หรือวัตถุที่ต้องการอธิบาย เพื่อให้เสียงที่พูดนักท่องเที่ยวได้ยินกันทุกคนและเป็นการสำรวจนักท่องเที่ยวไปด้วยว่าสนใจในเรื่องที่อธิบายอยู่หรือไม่

    - เมื่อบรรยายเสร็จแต่ละครั้งควรเปิดช่วงให้ลูกทัวร์เพื่อสอบถามข้อมูล หรืออาจจะตั้งคำถามแก่นักท่องเที่ยวเพื่อให้มีส่วนร่วม

ที่มา https://www.scholarship.in.th/part-time-job-practice-english/
      อาชีพมัคคุเทศก์ หรือ ไกด์ เริ่มมีบทบาทน้อยลงในวงการการท่องเที่ยว เมื่อในปัจจุบันนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกที่จะไปเที่ยวด้วยตนเอง หรือ แบ็คแพ็ค ไปเที่ยวกับเพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางที่ไม่ต้องรอการรวมกลุ่มกันใหญ่ ๆ อีกต่อไป นอกจากนี้ความพัฒนาของเทคโนโลยีในปัจจุบันเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกเป็นอย่างมาก หากต้องการไปเที่ยวเองก็ง่ายในการหาข้อมูล ทำให้มัคคุเทศก์ต้องเริ่มปรับตัวให้เข้ากับยุคโลกาภิวัฒน์ให้ได้ เช่น การขายโปรแกรมทัวร์ผ่านโซเซียลมิเดีย ซึ่งในปัจจุบันจึงเริ่มมีการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ที่หลากหลายให้เราได้พบเห็นกันและได้ไปสัมผัสกับบรรยากาศของการผ่อนคลายในการท่องเที่ยวในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น