วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2563

วัดสีสะเกด (Si Saket Temple)

 วัดสีสะเกด (Si Saket Temple)


ที่มา https://vientiane.crowneplaza.com/th/wat-sisaket

    วัดสีสะเกด ในการสร้างวัดครั้งแรกเดิมวัดนี้มีชื่อว่า วัดสตสหัสสาราม** แต่สำหรับชื่อ วัดสีสะเกด ได้มาจากทิศที่ตั้งของวัดหันหน้าไปทางพระราชวังที่เป็นทิศหัวนอนของเจ้าอนุวงศ์ สำหรับเจ้าอนุวงศ์กราบไหว้พระใน วัดสีสะเกด ได้ทุกเวลา วัดสีสะเกดเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเมือง เพราะวัดอื่นๆที่เหลืออยู่โดยรอบเวียงจันทร์ถูกเผาทำลายในช่วงที่สยามเข้ามารุกราน

ที่มา https://www.konderntang.com

   ** คำว่าสตสหัสส  แปลว่า 100,000,  อาราม แปลว่า วัด,  วัดสตสหัสสาราม จึงแปลว่า วัดแสน  ในอดีตเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช (ลาว)   สาเหตุที่ชื่อวัดแสนก็เพราะว่า  พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชและพุทธศาสนิกชนชาวลาวในอดีต  ทรงสร้างพระพุทธรูปทั้งองค์เล็กและองค์ใหญ่ประดิษฐานไว้ทั่ววัด 100,000 องค์  ดังนั้นจึงมีชื่อเล่นว่าวัดแสน  แต่ปัจจุบันมีเหลืออยู่ประมาณ 10,000 กว่าองค์เท่านั้น 

ที่มา https://www.emagtravel.com/archive/vientiane-trip.html

    วัดสีสะเกด เป็นวัดหลวง หรือเป็นวัดอารามหลวงหากเทียบกับในประเทศไทย มีภาพเขียนลายตามพนังของโบสถ์ และกำแพง ผนังภายในพระอุโบสถมีรูปแต้มระบายสีที่มีความเก่าแก่ และมีคุณค่า โดยวัดได้ทำการอนุรักษ์และรักษาไว้อย่างดี มีพระพุทธรูปที่เป็นสถาปัตยกรรมของลาว เมื่อเข้าไปสู่อุโบสถบริเวณประตูจะมีศิลาจารึกที่สร้างขึ้นจากหินทราย มีการบรรยายถึงประวัติในการสร้างวัดนี้ พระพุทธรูปเงินและพระพุทธรูปดินเผา ส่วนในด้านหลังพระอุโบสถมีรางไม้ที่เป็นเอกลักษณ์เด่น เป็นรูปพญานาคใช้เป็นรางสำหรับสรงน้ำพระในเทศกาลสงกรานต์ หรือปีใหม่ลาว

ประวัติการสร้างวัดสีสะเกด

พระเจ้าอนุวงศ์โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นในปี พ.ศ.2361โดยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะรัตนโกสินทร์อย่างมาก ทั้งรูปแบบของสิมและหอไตร วัดนี้เป็นวัดที่ไม่ได้ถูกทำลายจากการบุกรุกของสยามทำให้ยังคงหลงเหลือศิลปกรรมสมัยพระเจ้าอนุวงศ์มาจนถึงปัจจุบัน

ด้านสถาปัตยกรรม

    องค์ประกอบภายนอกประกอบด้วย มีวิหารใหญ่อยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยระเบียงคดทั้ง 4 ด้าน ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่มีคุณค่าแก่การอนุรักษ์ แต่สิ่งที่เด่นมากของวัดนี้คือ หอไตร หรือ หอธรรม ที่มีรูปทรงคล้ายมณฑปมีหลังคาลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นๆ ตามศิลปะสกุลช่างล้านช้าง เป็นพุทธสถาปัตยกรรมที่งดงามมากของนครเวียงจันทน์

ที่มา https://www.konderntang.com

    สิมวัดสีสะเกด เป็นสิมแบบเวียงจันทน์ที่มีหลังคาด้านข้างยกสูง แตกต่างไปจากหลังคาที่เตี้ยเลียบพื้นตามแบบหลวงพระบางและเชียงขวาง โดยรอบปรากฏพาไลซึ่งคล้ายคลึงอย่างมากกับอุโบสถในศิลปะรัตนโกสินทร์หลายแห่ง ซุ้มประตูและหน้าต่างเองก็เป็นทรงมณฑปซึ่งคล้ายคลึงกับอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพ อย่างไรก็ตาม การซ้นชั้นของหลังคาที่ชั้นเชิงตามแบบล้านช้าง กระเบื้องที่ไม่เคลือบสีและการปรากฏ “ช่อฟ้า” หรือปราสาทยอดที่กึ่งกลางสันหลังคาล้วนแต่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบล้านช้างเอง 



ที่มา https://th.tripadvisor.com/LocationPhotoDirectLink-g293950-d325294-i163679370-Wat_Si_Saket-Vientiane_Vientiane_Prefecture.html


    จุดเด่นอีกสิ่งหนึ่งของ วัดสีสะเกด คือพระที่สร้างในกำแพง เป็นศิลปะที่ในสมัยนั้นนิยมสร้างกัน ซึ่งมีทั้งในกำแพงอุโบสถ และกำแพงของวัด  ผนังด้านในของระเบียงที่รอบอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปเงิน และ ดินเผา มากกว่า 2,000 องค์ ส่วนใหญ่ เป็นพระที่สร้างที่เวียงจันทน์ในช่วงศตวรรษที่ 16 ถึง 19 พระพุทธรูปภายในวัดที่มีจำนวนมากนั้นมีความหมายคือเปรียบเสมือนศิษยานุศิษย์สาวกของพระพุทธเจ้า ตามพุทธประวัติที่มีสืบต่อกันมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปสถานที่ใดก็ต้องมีบริวารติดตามไปเพื่อรับฟังโอวาทพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงทำพระพุทธรูปหล่อถวายให้แก่ วัดสีสะเกด 

ที่มา https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tantailovegongtup&month=03-2012&date=31&group=18&gblog=10



ที่มา https://www.konderntang.com


     ปัจจุบันวัดสีสะเกดเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ของลาว วัดนี้เป็นวัดที่ไม่ถูกเผาเมื่อครั้งมีสงคราม ทำให้ในปัจจุบันนี้ยังมีความสวยงาม และความสมบูรณ์ ทำให้คนรุ่นหลังอย่างเราได้เห็นถึงความงามที่สร้างด้วยช่างฝีมือในสมัยนั้น อีกทั้งวัดยังเป็นศูนย์รวมจิตใจให้คนในชาติอีกด้วย ประเทศลาวเป็นประเทศที่มีพุทธศาสนิกชนอยู่จำนวนมาก


การเดินทาง : มี 3 วิธีด้วยกันคือ 

    – รถตุ๊กตุ๊ก หรือรถกระป๊อ นั่งได้ประมาณ 4 คน เหมา 700 บาท

    – รถเก๋ง นั่งได้ประมาณ 3-4 คน เหมา 800 บาท

    – รถตู้เล็ก hyundai นั่งได้ประมาณ 7 คน เหมา 900 บาท

แผนที่การเดินทาง จาก https://travel.mthai.com/world-travel/62737.html

ค่าเข้าชม : 5000 กีป ( ประมาณ 20 บาท)

ที่มา http://www.dooasia.com/trips/detail.php?id=240

เปิดทำการ ทุกวันตั้งแต่ช่วงเช้า 8.00-12.00 และช่วงบ่าย 13.00 – 16.00 น.

ข้อแนะนำ: ห้ามถ่ายภาพในอุโบสถ



เอกสารอ้างอิง

เชษฐ์ ติงสัญชลี .(2558).สิม วัดสีสะเกด.สืบค้นเมื่อ 27/10/2563
จากเว็บไซต์ https://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/detail.php?tb_id=1106

คนเดินทาง .(2561).วัดสีสะเกด เมืองเวียงจันทร์ .สืบค้นเมื่อ 27/10/2563 จากเว็บไซต์ https://www.konderntang.com/วัดสีสะเกด/

whenorwhere.(มปป).วัดสีสะเกด/ วัดสตสหัสสาราม (Wat Si Saket /Si Saket Temple) .สืบค้นเมื่อ 27/10/2563 จากเว็บไซต์ https://www.whenorwhere.com/destination/wat-si-saket 

dooasia.(2551).เที่ยววัดเก่าแก่ของลาว วัดสีสะเกด เวียงจัน ประเทศลาว.สืบค้นเมื่อ 27/10/2563 จากเว็บไซต์ http://www.dooasia.com/trips/detail.php?id=240

momarmy.(2554).มาฆะบูชา เวียงจันทน์ / วัดสีสะเกด.สืบค้นเมื่อ 27/10/2563 จากเว็บไซต์ https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tantailovegongtup&month=03-2012&date=31&group=18&gblog=10 

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563

พระราชวังมัณฑะเลย์ (Mandalay Royal Palace)

พระราชวังมัณฑะเลย์ (Mandalay Royal Palace, Mandalay, Myanmar)

    สวัสดีค่ะทุกคนครั้งนี้เราจะพาทุกคนไปชมโบราณสถานที่สำคัญของประเทศเมียนมาร์ นั้นคือ พระราชวังมัณฑะเลย์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเมืองทองแห่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แต่กลับเป็นพระราชวังแห่งสุดท้ายของมัณฑะเลย์ และของเมียนมาร์ เมื่อถึงยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ซึ่งอังกฤษได้ผนวกเมียนมาร์เข้าเป็นอาณานิคมของตนเอง และเชิญพระเจ้าทีปอกับพระนางสุภายาลัด กษัตริย์องค์สุดท้ายของเมียนมาร์เสด็จออกนอกประเทศ ไปประทับที่อินเดียจนสิ้นพระชนม์ที่นั่น และช่วงสงครามโลกพระราชวังหลวงที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังก็ถูกทำลายจนสิ้น ปัจจุบันได้มีการบูรณะพระราชวังขึ้นมาใหม่เป็นบางส่วนแต่ก็มิได้สวยงามเท่าของเดิม เป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การไปเยือน

ที่มา : https://www.wonderfulpackage.com/article/v/711/

ประวัติความเป็นมา

   เมืองมัณฑะเลย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอิระวดี อดีตเมืองหลวงที่สำคัญของประเทศเมียนมาร์  พระราชวังมัณฑะเลย์ถูกสร้างขึ้นมาโดยพระเจ้ามินดง ในปีปี ค.ศ. 1857 หลังการย้ายเมืองหลวงจากอมระปุระมายังมัณฑะเลย์ เพื่อหนีทหารของจักรวรรดิอังกฤษ ระหว่างสงครามพม่า-อังกฤษ   

  พระเจ้ามินดงทรงสุบินเห็นภูเขามัณฑะเลย์ โหรหลวงได้ทำนายว่าต้องสร้างราชธานีใหม่ ณ ที่แห่งนี้ พระองค์จึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงจากอมรปุระมายังเมืองมัณฑะเลย์ โดยรื้อพระราชวังเดิมนำมาสร้างใหม่ สร้างขึ้นตามผังภูมิจักรวาลแบบพราหมณ์ปนพุทธ โดยสมมุติให้เป็นศูนย์กลางของโลก (เขาพระสุเมรุ) 

     ในการก่อสร้างเป็นพระราชวังที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ได้ชื่อว่ามีความงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย มีคูน้ำรอบพระราชวังและประตูที่ยิ่งใหญ่ และเป็นพระราชวังที่สุดท้ายของพระเจ้าธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์คองบองและในประวัติศาสตร์พม่า เมื่ออังกฤษเข้ายึดครองพม่าในสงครามโลกครั้งที่สอง ทางอังกฤษคิดว่าพระราชวังนี้เป็นแหล่งซ่องสุมของทหารญี่ปุ่น จึงได้ทำลายพระราชวังด้วยการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1945 พระราชวังตกอยู่ในความเสียหายมาโดยตลอด จนปัจจุบันได้รับการบูรณะโดยรัฐบาลพม่า โดยการลอกแบบโครงสร้างเดิม เพราะฉะนั้นลวดลายและฝีมือการแกะสลักจึงไม่สวยงามและละเอียดละออเท่ากับของเดิม ซึ่งสามารถไปดูลวดลายการแกะสลักที่คล้ายคลึงกันได้ที่ วิหารชเวนั้นดอร์ ซึ่งเป็นวัดที่มีการแกะสลักไม้สักปิดทองที่ยังไม่ถูกทำลายและยังคงสภาพได้อย่างสมบูรณ์


สถาปัตยกรรมพระราชวังมัณฑะเลย์

รูปแบบศิลปะ : ศิลปะสมัยอมรปุระและมัณฑะเลย์ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23

ผู้สร้าง : พระเจ้าบินดง ปี ค.ศ. 1857

ลักษณะเด่น : มีการสร้างหลังคาเป็นปราสาท หรือ ปยาธาตุ ลักษณะเป็นแบบเรือนชั้นซ้อนแบบพม่า และการแกะสลักไม้ปิดทองที่เป็นเอกลักษณ์และมีความละเอียดงดงาม

พระราชวังมีรูปแบบแผนผังการสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวด้านละ 2 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบพระราชวัง และมีกำแพงที่สร้างด้วยอิฐสูงประมาณ 8 เมตร ยอดกำแพงเป็นรูปใบเสมา รอบล้อมพระราชวัง ซึ่งกำแพง ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นปราการป้องกันข้าศึก  แต่สร้างไว้เพื่อแสดงว่า พื้นที่ภายในวงล้อมของกำแพงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากกว่า

ที่มา https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/83462.html
ที่มา https://www.dplusguide.com/2017/mandalay-story/

    มีประตูเข้าสู่พระราชวังทั้งหมด 4 ทิศ ทิศละ 3 ประตู รวมเป็น 12 ประตู แต่ประตูที่ใช้ได้จริงมีเพียงประตูทางทิศตะวันออกเท่านั้น เพราะมีสะพานที่สามารถข้ามเข้าไปได้ นอกนั้นเป็นประตูหลอก ยกเว้นแต่ประตูทางทิศตะวันตก เป็นประตูผี ที่มีความเชื่อว่าใช้สำหรับขนคนที่ตายแล้วออกจากวังเท่านั้น แต่ในช่วงที่อังกฤษเข้ามาเป็นเจ้าอาณานิคมได้บังคับให้พระเจ้าตี่ป่อและพระนางสุภายาลัด เสด็จด้วยเกวียนเทียมโคออกไปลงเรือที่แม่น้ำอิรวดีด้านประตูทางทิศตะวันตก ซึ่งถือเป็นการหมิ่นพระเกียรติอย่างร้ายแรง ในปัจจุบันรัฐบาลพม่า ยังไม่ยอมซ่อมสะพานที่ข้ามผ่านประตูผีแห่งนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์อันเจ็บปวดที่ถูกอังกฤษกระทำย่ำยีศักดิ์ศรี

ที่มา http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/10/K8404784/K8404784.html


    ภายในปราสาทถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ชั้นนอก เป็น หมู่มหามณเฑียร ลักษณะจะเป็นท้องพระโรง 3    หลังติดกัน เป็นสถานที่ที่ใช้ประชุมของเหล่าเสนาบดีและขุนนาง ปัจจุบันถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์ภายในพระราชวังมัณฑะเลย์ จัดแสดงสิ่งของที่หลงเหลืออยู่ และได้รับคืนบางส่วนจากอังกฤษหลังได้รับเอกราช แต่ทรัพย์สมบัติจำนวนมากก็ยังคงอยู่ที่อังกฤษ

ที่มา https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/83462.html

ชั้นกลาง ใจกลางพระราชวังเป็นห้องพระมหาปราสาทที่ประดิษฐานสีหาสนบัลลังก์ นอกจากนี้ยังมีพระที่นั่งมยีนันซึ่งสร้างด้วยไม้ แล้วหุ้มด้วยแผ่นทอง 7 ชั้น สูงถึง 78 เมตร เป็นจุดศูนย์กลางของพระราชวัง ดังเขาพระสุเมรุที่เป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล และด้านหลังของพระที่นั่งมยีนัน เป็นพระที่นั่งสายตะหวุ่นสาง ที่ประดิษฐานหงสาสนบัลลังก์ ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันธุกะต่างแดน

ที่มา https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/83462.html


และชั้นใน เป็นตำหนักของพระมเหสี พระสนมและวงศานุวงศ์ขนาดเล็กลงมาตามลำดับความสำคัญ ลักษณะเด่นจะเป็นเรือนไม้สักสีแดง ซึ่งเป็นพื้นที่ห้ามคนนอกเข้ายกเว้นกษัตริย์และทหารรักษาการณ์ ซึ่งคาดว่าตำหนักในชั้นในมีประมาณ 45-48 หลังตามจำนวนของพระสนมของพระเจ้าบินดง 

ที่มา https://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=334

 **จะมีเพียงส่วนชั้นนอกและชั้นกลางเท่านั้นที่สามารถเข้าไปได้ ในส่วนอื่นไม่อนุญาตให้เข้าชมและห้ามถ่ายรูป เพราะเป็นที่ตั้งของทหาร มีการรักษาความปลอดภับที่เข้มงวด

    นอกจากนี้ยังมีหอคอยไม้บันไดเวียน เป็นหอคอยที่ใช้มองเมืองมัณฑะเลย์ และสังเกตุการณ์โดยรอบพระราชวังด้านข้างมีอาคารแบบตะวันตก มีสระน้ำแบบชาวโรมัน ซึ่งพระเจ้าสีป่อสั่งให้ช่างชาวอิตาลีสร้างขึ้นในภายหลัง

ที่มา https://www.dplusguide.com/2017/mandalay-story/

ที่มา https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/83462.html


การเดินทางไปยังพระราชวังมัณฑะเลย์

    - รถแท็กซี่ เป็นทางเลือกหลักในการเดินทางภายในเมืองต่างๆของพม่า เนื่องจากในพื้นที่ยังไม่มีบริการรถสาธารณะประเภทอื่นๆ นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถแท็กซี่ทั้งจากรถของโรงแรมที่พักต่างๆ หรือตามท้องถนน ทั้งนี้อัตราค่าบริการจะเป็นราคาแบบเหมา ทั้งการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง หรือการเหมาท่องเที่ยวแบบ 1 วัน โดยอัตราค่าโดยสารต่อเที่ยวไปยังจุดต่างๆเริ่มต้นตั้งแต่ 3,000  จ๊าด ส่วนอัตราเหมาต่อ 1 วันอยู่ที่ประมาณ USD 50-90 โดยอัตราค่าโดยสารทั้งสองรูปแบบอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพรถ จุดหมาย และระยะทางในการเดินทาง
    - มอเตอร์ไซค์เช่า เป็นวิธีการเดินทางราคาประหยัดสำหรับนักท่องเที่ยว โดยในเมืองมัณฑะเลย์นั้นมีร้านเช่ามอเตอร์ไซค์อยู่จำนวนมาก บางโรงแรมก็มีให้บริการเช่นกัน โดยค่าเช่าต่อวันจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 – 30,000 จ๊าด ขึ้นอยู่กับชนิดของมอเตอร์ไซค์ที่ต้องการ และยังไม่รวมค่าน้ำมันระหว่างวัน

เวลาในการเปิด-ปิดทำการ : พระราชวังมัณฑะเลย์เปิดทำการทุกวันตั้งแต่ 07.30 – 16.30 น.

การซื้อบัตรเข้าชม : สถานที่สำคัญต่างๆในเมืองมัณฑะเลย์มีการจำหน่ายบัตรเข้าชมแบบรวม ซึ่งมีชื่อว่า Mandalay Archaeological Zone ticket ราคา USD 10 หรือ 10,000 จ๊าด (ประมาณ 250 บาทไทย) สามารถใช้เข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวทุกแห่งในเมืองมัณฑะเลย์ สามารถหาซื้อได้ตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆที่อยู่ภายในเมือง บัตรมีอายุ 5 วัน



ข้อแนะนำ : แม้ว่าสถานที่ต่างๆในประเทศพม่าทั้งสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม และร้านอาหาร จะรับชำระเงินทั้งในสกุลจ๊าด และสกุลดอลล่าร์ แต่สำหรับการใช้จ่ายทั่วไป เช่นการขึ้นรถ หรือจ่ายค่าอาหาร การจ่ายเงินเป็นสกุลจ๊าดจะได้เรทที่ค่อนข้างดีกว่าและถูกกว่าการจ่ายเป็นสกุลดอลล่าร์
 




เอกสารอ้างอิง

วีระพล   ศรีหลัก .(มปป).ประวัติพระราชวังมัณฑะเลย์ พม่า.สืบค้นเมื่อ 14/10/2563
จากเว็บไซต์ https://sites.google.com/site/hongkhaphrarachwangphma/pra-wati-hong-kha/prawati-phra-rach-wang-manth-a-ley-phma

CAMPUS.(2560).พระราชวังมัณฑะเลย์ ความงดงาม กับเรื่องราวประวัติศาสตร์น่าเศร้าใจ – พม่า.สืบค้นเมื่อ 14/10/2563 จากเว็บไซต์ https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/83462.html

Webmaster. (2563).พระราชวังมัณฑะเลย์ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า สืบค้นเมื่อ 14/10/2563 
จากเว็บไซต์ https://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=334

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563

ปราสาทนาคพัน ปราสาทกลางสระน้ำของกัมพูชา

ปราสาทนาคพัน

    กัมพูชา เป็นประเทศที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของอารยธรรมขอมโบราณ อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในคราวอตีดกาล ซึ่งอาณาจักรขอมโบราณได้สรรค์สร้างโบราณสถานต่าง ๆ มากมายในพื้นที่ของอาณาจักรตนเอง อันเกิดจากความศรัทธาอันแรงกล้าของผู้คนที่นับถือในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ที่ได้รับอิทธิพลสืบทอดมาจากอินเดีย ดังเช่นโบราณสถานที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกและนับว่าเป็น 1 ใน 7 สิ่งก่อสร้างที่อัศจรรย์ของโลกในยุคโบราณ อย่าง นครวัด ซึ่งในประเทศกัมพูชา ที่ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของอาณาจักขอมโบราณในอดีต ย่อมต้องเต็มไปด้วยแหล่งโบราณสถานของขอมอย่างแน่นอน และในคราวนี้เราจะมาทำความรู้จักกับแหล่งหนึ่งในโบราณสถานที่น่าสนใจ นั้นคือ "ปราสาทนาคพัน"

ที่มา https://archaeologyinseabypeach.blogspot.com/2017/10/blog-post_16.html



..........................................................................................

ปราสาทนาคพัน  (Neak Pean) : ปราสาทกลางสระอโนดาตตามคติความเชื่อของชาวขอม

• ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18 (ประมาณ ๘๐๐ กว่าปี)

• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน

• ศาสนา : ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน

.............................................................................................

ประวัติความเป็นมา

    ปราสาทนาคพันเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียก (ภาษาเขมรออกเสียงว่า “เนียกปวน”) เนื่องจากตัวปราสาทที่อยู่กลางสระน้ำ มีพญานาค ๒ ตัวใช้ลำตัวโอบฐานประสาทแล้วใช้หางพันกัน จึงเป็นที่มาของชื่อปราสาท

    ปราสาทนาคพันตั้งอยู่กลางสระน้ำใหญ่เรียกว่า “บารายพระขรรค์” บารายแห่งนี้ตามจารึกปราสาทพระขรรค์เรียกว่า “ชัยตฏากะ” ปราสาทนาคพันสร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เรียกชื่อว่า “เกาะราชัยศรี” ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำราชอาณาจักรเขมรโบราณ เพราะเปรียบเสมือนสระอโนดาต น้ำในสระจึงสะอาดบริสุทธิ์ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากไม่ได้รับแสงสว่างโดยตรงจากดวงอาทิตย์ แต่รับแสงสะท้อนจากปราสาททองคำ (ปราสาทที่ตั้งอยู่กลางสระ) ตามความเชื่อในคัมภีร์ น้ำในสระนี้จะแห้งเหือดเป็นแหล่งสุดท้ายเมื่อสิ้นกัลป์ แสดงความหมายถึงราชอาณาจักรจะมั่นคงยั่งยืนไปตลอดกาลนาน

ที่มา https://archaeologyinseabypeach.blogspot.com/2017/10/blog-post_16.html


สถาปัตยกรรมและงานศิลปะ

ลักษณะแผนผังของปราสาทนาคพันเป็นเกาะที่ตั้งอยู่กลางบารายพระขรรค์ มีสระน้ำใหญ่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสอยู่ตรงกลางมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดย่อมลงมา ตั้งขนาบทั้งสี่ทิศ ตัวปราสาทมีขนาดเล็ก ผังเป็นรูปวงกลม ตั้งอยู่ตรงกลางของสระน้ำใหญ่ที่อยู่ตรงกลาง เป็นแผนภูมิของสระอโนดาตตามคัมภีร์


นาคพันรอบฐานปราสาท

กลางสระน้ำเป็นที่ตั้งของฐานปราสาทที่มีลักษณะกลมเป็นชั้นๆ ที่ฐานหรือชั้นล่างสุดของฐานปราสาทนี้
เป็นนาคเจ็ดเศียรสองตัวที่หางเกี่ยวพันกันทางทิศตะวันตก ลำตัวโอบล้อมฐานหันหน้ามาทางทิศตะวันอออก นาคสองตัวนี้เชื่อกันว่าเป็นพญานาคที่ชื่อว่านันทะและอุปานันทะ

ภาพสลักที่ปรางค์ประธาน

ตรงกลางของสระมีบันไดขึ้นไป 7 ชั้น สู่ปรางค์ประธานซึ่งอยู่ตรงกลาง ทางเข้าอยู่ทิศตะวันออก ส่วนอีก 3 แห่ง รอบปราสาทเป็นประตูหลอก ที่มุมของปรางค์ประธานมีรูปพญาครุฑ ด้านหลังของปรางค์ประธานมีภาพสลักคติธรรมทางพุทธศาสนา แต่ภาพเหล่านี้ได้ถูกดัดแปลงให้เป็นความเชื่อตามศาสนาฮินดู เช่น ภาพสลักเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช ภาพนี้ถูกดัดแปลงให้มีรูปลักษณะคล้ายศิวลึงค์ อีกภาพหนึ่งเป็นภาพสลักเมื่อพระพุทธเจ้านั่งสมาธิอยู่ใต้ต้นโพธิ์ก็ถูกดัดแปลงเช่นกัน

ที่มา http://www.thapra.lib.su.ac.th/supatlib/picture2.php?check=slide&keyword=23&Page=22

ประติมากรรมลอยตัวรูปม้าพลาหะ อยู่ด้านหน้าของปรางค์ประธานด้านทิศตะวันออก ม้าพลาหะเป็นอวตารหนึ่งของพระโพธิสัวต์อวโลกิเตศวร ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อพ่อค้าจากอินเดียลงเรือสำเภาเพื่อเดินทางไปยังเกาะศรีลังกาเกิดพายุระหว่างทาง เรือถูกพายุโหมกระหน่ำจนเรือแตก พระโพธิสัตว์ได้แปลงพระองค์เป็นม้ามีปีกลงไปให้ความช่วยเหลือคนที่อยู่กลางมหาสมุทรได้อย่างปลอดภัย ม้าพลาหะเปรียบเสมือนยานพาหนะลำใหญ่ที่พาผู้คนสู่มรรคผลนิพพาน

ที่มา http://www.oceansmile.com/KHM/Nakpan.htm

รูปสลักคน ราชสีห์ ม้า ช้าง
รูปสลักในศาลาทางด้านทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นใบหน้าของมนุษย์ ส่วนทางด้านทิศใต้เป็นรูปใบหน้าราชสีห์ รูปของม้าอยู่ทางด้านทิศตะวันตก และรูปของช้างอยู่ทางทิศเหนือ สันนิษฐานว่ารูปสลักใบหน้ามนุษย์เดิมทีเป็นหน้าของวัว เพื่อให้สอดคล้องกับคติธรรมทางศาสนาฮินดูเช่นเดียวกับภาพสลัพระพุทธเจ้าที่ถูกสกัดใบหน้า ลำตัว แขน ออกให้เหลือฐานกับลำตัวมองดูคล้ายศิวลึงค์ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 8


ที่มา http://www.thapra.lib.su.ac.th/supatlib/picture2.php?check=slide&keyword=23&Page=22


สระอโนดาต

คือสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่อยู่เชิงเขาพระสุเมรุในป่าหิมพานต์ แสงอาทิตย์ส่องไปไม่ถึง น้ำในสระจึงใสสะอาดและบริสุทธิ์ และไหลลงมาสู่โลกมนุษย์ เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 สายใหญ่ในชมพูทวีป อันได้แก่ คงคา ยมุนา พรหมบุตร และสินธุ รอบ ๆ สระอโนดาตเป็นป่า มีสรรพสัตว์อาศัยอยู่ (มนุษย์ ช้าง ม้าและสิงห์) จากความเชื่อว่าสระน้ำที่ปราสาทนาคพันเป็นสระน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ และนอกจากนี้ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของป่าบริเวณรอบ ๆ ปราสาท จึงเป็นแหล่งสมุนไพรที่สามารถใช้ในการรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยได้ด้วย จึงมีผู้คนมารักษาพยาบาลที่ปราสาทแห่งนี้

ที่มา http://www.mariajourneys.com/phnompenh-siamreap-cambodia/


การเดินทางไปปราสาทนาคพัน

- สถานที่ตั้ง : ทางทิศเหนือของเมืองเสียมเรียบ ประมาณ ๑๗ กิโลเมตร ตั้งอยู่ใกล้กับปราสาทพระขรรค์

- ค่าเข้าชม : ต้องซื้อราคาเหมา เข้าชมได้ทุกปราสาทในเสียมเรียบ มีแพ็กเกจ 3 อย่าง คือ

    1 วัน = 37 $ (ตั๋วหมดอายุวันเดียว)     3 วัน = 62 $ (ตั๋วหมดอายุภายใน 10 วัน)     7 วัน = 72 $ (ตั๋วหมดอายุภายใน 30 วัน)

- เปิดบริการ : เปิดทุกวันตั้งแต่ 05.00 - 18.00 น.




เอกสารอ้างอิง

ฐิตินันท์ อ่องพิมาย.(2559).“ปราสาทนาคพัน กับตำนานม้าวิเศษ”.สืบค้นเมื่อ 16/9/2563
จากเว็บไซต์ https://archaeologyinseabypeach.blogspot.com/2017/10/blog-post_16.html


บ้านจอมยุทธ์ .(2557). ปราสาทนาคพัน (ปราสาทเนี๊ยกปอน) Neak Pean   .สืบค้นเมื่อ 17/9/2563
จากเว็บไซต์ https://www.jomyut.com/documentary-travel/cambodia/neakpean.html


โอเซี่ยนสไมล์ทัวร์.(มปป.).วิหารวรรณกรรมวันเหมียว (Van mieu) ฮานอย เวียดนาม.
สืบค้นเมื่อ 17/8/2563จากเว็บไซต์ http://www.oceansmile.com/KHM/Nakpan.htm


วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563

วิหารวรรณกรรม (Van mieu)

สวัสดีค่ะทุกคน ครั้งนี้เราจะพาไปรู้จักกับแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของประเทศเวียดนามเวียดนามกัน นั้นคือ วิหารวรรณกรรม นั้นเอง วิหารแห่งนี้เป็นทั้ง "วัดโบราณ" ที่มีผู้คนมาเคารพศรัทธากันอย่างยาวนานแล้ว ยังถือได้ว่าเป็น "มหาวิทยาลัยแห่งแรกของเวียดนาม" อีกด้วย โดยจะมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับขงจื๊อ ซึ่งเป็นลัทธิที่ผู้คนเคารพนับถือกันอย่างแพร่หลายในประเทศจีนและได้เผยแพร่อิทธิพลมาสู่เวียดนามซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงด้วย ดังนั้นเรามาทำความรู้จักสถานที่ที่เป็นร่องรอยประวัติศาสตร์แห่งการศึกษาของเวียดนามกันเลยดีกว่าคะ

ที่มา : https://www.thaitravelcenter.com/_admin2/userfiles/destinations/images/place-395-img1.jpg


            
วิหารวรรณกรรม หรือภาษาเวียดนามเรียกว่า วันเหมียว (Van mieu) เป็นวัดโบราณและมหาวิทยาลัยแห่งแรก
ของเวียดนาม ตั้งอยู่ที่ใจกลางเมืองฮานอย ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ 1070 ซึ่งเป็นยุคของ ราชวงศ์ไล โดยพระเจ้าไล ไท ตอง สร้างขึ้นเพื่อเชิดชูคุณธรรมและแสดงความยกย่องแก่ขงจื๊อ นักปราชญ์ชาวจีนที่ได้รับความเคารพนับถือเป็นอย่างมากในประเทศจีน ซึ่งเวียดนามที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของราชวงศ์จีนในตอนนั้นก็ได้รับอิทธิพลความเชื่อนี้มาด้วย ในอีกหกปีต่อมา ช่วงปี ค.ศ 1076 ได้มีการสร้างให้เป็นโรงเรียนสำหรับขุนนาง เพื่อให้เหล่าขุนนางได้ศึกษาเล่าเรียนและสอบเป็นจอหงวน จนกระทั่งในปี ค.ศ1442 ยุคสมัยของราชวงศ์ตรัน ได้มีการเปิดรับนักเรียนทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถให้เข้าเรียนในวิหารแห่งนี้ได้ และได้เปิดเรียนการสอนจนถึงปลายศตวรรษที่ 18 และถูกทิ้งให้รกร้าง

Cổ kính Văn Miếu Quốc Tử Giám - Trường đại học đầu tiên của Đông Nam Á
ที่มา : https://tour.dulichvietnam.com.vn/diem-den/ha-noi/co-kinh-van-mieu-quoc-tu-giam-truong-dai-hoc-dau-tien-cua-dong-nam-a.html

    
    วิหารวรรณกรรมแบ่งออกเป็น 5 ชั้นด้วยกัน ประตูทางเข้าด้านหน้าทำเป็น 2 ชั้น มีประตูรูปวงโค้ง คล้ายก๋งจีน สลักชื่อวิหารวรรณกรรมอยู่ชั้นบนสุด เมื่อลอดซุ้มประตูด้านหน้าเข้ามา จะพบความร่มรื่นของต้นไม้ใหญ่ สองข้างทางมีบ่อน้ำสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก 2 บ่อ สังเกตได้ว่ามีการวางแผนผังการก่อสร้างที่ดี โดยคำนึงถึงหลักของฮวงจุ้ยเช่นเดียวกับจีน ซึ่งได้รับอิทธิพลนี้มาจากจีน เพราะจีนเคยปกครองเวียดนามมาก่อน
ที่มา : https://vi.wikipedia.org/wiki/V%C4%83n_Mi%E1%BA%BFu_-_Qu%E1%BB%91c_T%E1%BB%AD_Gi%C3%A1m

  
        เมื่อเดินผ่านซุ้มประตูมาก็จะถึงอาคารชื่อตึกดาวลูกไก่ หรือ เคววันกั๊ก (Khue Van Cac) สถานที่นักอักษรศาสตร์มาท่องบทกวี มีประตูกำแพงใหญ่ได๋แถงห์โมน (Dai Thanh Mon) สัญลักษณ์ของกรุงฮานอย กับสระน้ำขนาดใหญ่ตรงกลางลานด้านหลังประตูมีชื่อว่า สระแสงงาม หรือ เทียนกวางติงห์ (Thien Quang Tinh) เวลาแสงจากพระอาทิตย์สาดส่องจะสะท้อนเข้าสู่ประตูใหญ่ ซึ่งตามความเชื่อหลักของฮวงจุ้ย คือทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง


Khuê Văn Các sắp được tu bổ lại | VTV.VN
ที่มา : https://vtv.vn/du-lich/khue-van-cac-sap-duoc-tu-bo-lai--109269.htm

ที่มา : http://www.oceansmile.com/Vietnam/Wannakam.htm


        นอกจากนี้ภายในอาคารหรือบริเวณรอบยังมีแผ่นหินจารึกรวม 82 แผ่น หลงเหลือจากของเดิมที่มีอยู่ถึง 117 แผ่น ซึ่งแผ่นหินเหล่านี้จะตั้งอยู่บนหลังเต่าทำด้วยหิน จารึกชื่อ ผลงาน ประวัติทางวิชาการของผู้ที่สอบผ่านการศึกษาหลักสูตร 3 ปี ตั้งแต่ระหว่างปี พ.ศ.1985-2322 หลายคนจึงเรียกว่า “แผ่นหินจารึกชื่อจอหงวน” ซึ่งจารึกชื่อของบัณฑิตจำนวน 1,307 คน



    
     เมื่อเดินตรงมาเรื่อย ๆ ก็จะพบ
อาคารแห่งการเฉลิมฉลอง หรือ ไบ๋ เยือง ซึ่งเป็นที่ตั้งเครื่องเซ่นสังเวยให้แก่ขงจื้อ อีกทั้งยังเป็นบริเวณที่กษัตริย์ได้ทรงมอบน้ำพระพิพัฒน์สัตยาให้กับอาจารย์ผู้สอนในอดีต ซึ่งบริเวณนี้มีแผ่นไม้ที่สลักไว้ด้านบนแท่นบูชาว่า ‘อาจารย์ของนักเรียนกว่าพันรุ่น’
  

ที่มา : http://www.taraarryatravel.com/info_page.php?id=652&category=34

Detailed decorative altar  inside the Temple of Literature (Van Mieu) in Hanoi, Vietnam : Stock PhotoTemple of Confucius containing statues of the great philosopher and four of his main disciples all dressed in robes of red and gold.Temple of Literature, Hanoi, Vietnam. : Stock Photo
ที่มา : https://www.gettyimages.com/detail/photo/the-constellation-of-literature-gate-temple-of-royalty-free-image/900314488


  
       นอกจากนี้แล้วภายในวิหารวรรณกรรมแห่งนี้ยังมีการรวบรวมผลงานทางด้านศิลปกรรม งานปั้น งานแกะสลัก และรูปภาพตั้งแต่สมัยอดีตพันกว่าปีที่ผ่านมา  ซึ่งปัจจุบันวิหารวรรณกรรมแห่งนี้กลายเป็นสถานที่รวบรวมเรื่องราวประวัติศาสตร์ โดยในช่วงแรกเป็นการสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับนักปราชญ์ขงจื๊อ จนต่อมาวิหารวรรณกรรมแห่งนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ในการเชิดชูเกียรติของเหล่าบัณฑิตที่มีบทบาทในการสร้างวัฒนธรรมความรู้ของเวียดนาม และมีการบูรณะซ่อมแซมให้คงความเป็นตัวอย่างวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของชาวเวียดนามได้เป็นอย่างดี

        หากทุกคนได้เดินทางไปเที่ยวฮานอย ประเทศเวียดนามแล้ว วิหารวรรณกรรมก็เป็นอีกแลนด์มาร์คหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเลยทีเดียว นอกจากจะได้เกร็ดสาระความรู้จากวิหารวรรณกรรมแล้ว บริเวณรอบ ๆ สถานที่แห่งนี้ยังเต็มไปด้วยธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อนและการถ่ายรูปกับทิวทัศน์ที่เต็มไปด้วยต้นไม้ที่เขียวขจีและดอกไม้ที่สวยงามใจกลางเมืองฮานอย



เอกสารอ้างอิง

texlovewich.(2553).วิหารวรรณกรรม (วันเหมียว,Literature temple) แห่งฮานอย .สืบค้นเมื่อ 26/8/2563
จากเว็บไซต์http://xn--q3cs6acu.blogspot.com/2010/06/literature-temple.html

MGR Online.(2549).วันวานของ‘วันเหมียว’ มหาวิทยาลัยแห่งแรกของเวียดนาม.
สืบค้นเมื่อ 26/8/2563จากเว็บไซต์http://xn--q3cs6acu.blogspot.com/2010/06/literature-temple.html
https://mgronline.com/dhamma/detail/9490000112076

วิหารวรรณกรรม.(มปป.).
สืบค้นเมื่อ 27/8/2563จากเว็บไซต์ https://www.expedia.co.th/Temple-Of-Literature-Hanoi.d6115784.Place-To-Visit

โอเซี่ยนสไมล์ทัวร์.(มปป.).วิหารวรรณกรรมวันเหมียว (Van mieu) ฮานอย เวียดนาม.
สืบค้นเมื่อ 27/8/2563จากเว็บไซต์http://www.oceansmile.com/Vietnam/Wannakam.htm

ส.ทหรลำชี.(มปป.).วิหารวรรณกรรมวันเหมียว (Van mieu) ฮานอย เวียดนาม.
สืบค้นเมื่อ 27/8/2563จากเว็บไซต์http://oknation.nationtv.tv/blog/t-vee/2016/10/15/entry-2

การปฎิบัติงานในการนำเที่ยวของมัคคุเทศก์



อาชีพมัคคุเทศก์ ชั้น 4 - TPQI E-Training: More than just an e-Learning.
                                          ที่มา https://e-training.tpqi.go.th/courses/47/info


    ก
ารเตรียมการของมัคคุเทศก์ก่อนการปฏิบัติงานสำคัญเป็นอย่างมาก ควรต้องเตรียมการในเรื่องของการหาความรู้และข้อมูลที่จำเป็นสำหรับใช้การนำทัวร์โดยละเอียด ต้องรู้จักมารยาทในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น มีอัธยาศัยดี  ต้องเข้าใจในงานที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทและตรวจสอบรายละเอียดของงานทัวร์เพื่อป้องกันความผิดพลาด ต้องติดต่อกับหน่วยงานและประสานงานกับสถานที่ต่าง ๆ ให้เรียบร้อย ต้องคำนวณและวางแผนทัวร์ให้ครอบคลุมทุกอย่างในแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งมีเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจในการบรรยายทัวร์ เพื่อให้การทัวร์เป็นไปอย่างราบรื่นและลดความผิดพลาดให้ได้มากที่สุด



โดยขั้นตอนในการนำเที่ยวของมัคคุเทศก์มีด้วยกันทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้


1.การเตรียมตัวก่อนปฎิบัติหน้าที่ ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ด้านต่างๆ เรียนรู้โครงสร้างกิจการของบริษัทนำเที่ยว และต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบริษัทนำเที่ยวที่ตนเองอยู่และบุคคลที่ร่วมงานด้วย นอกจากนี้ไกด์ต้องมีบุคคลิกภาพที่ดี มีความมั่นใจในตัวเอง พูดจาสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตนตนผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่

มัคคุเทศก์รูป png, เวกเตอร์, PSD, และไอคอนสำหรับการดาวน์โหลดฟรี | pngtree
ที่มา https://th.pngtree.com/free-png-vectors/มัคคุเทศก์


    2.การรับมอบหมายงานจากบริษัทนำเที่ยว
  มัคคุเทศก์จำเป็นต้องรับทราบรายละเอียดและเข้าใจในงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญในการนำทัวร์ เพราะฉะนั้น เมื่อได้รับมอบหมายงานทัวร์แล้วควรสอบถามรายละเอียดงานให้ครบถ้วนเพื่อป้องกันความผิดพลาด เช่น วันเวลาในการเดินทาง พาหนะที่ใช้ในการเดินทางไปแต่ละสถานที่ สถานที่พัก


รูปภาพ : แผนที่, เที่ยวบิน, วันหยุด, กระเป๋าเดินทาง, วีซ่า, หนังสือเดินทาง,  การเดินทาง, การขนส่ง, การท่องเที่ยว, เครื่องบินไอพ่น, นานาชาติ, โลก,  นักท่องเที่ยว, นักเดินทาง, สัมภาระ, ภาพประกอบ, การ์ตูน, ศิลปะ, การออกแบบกราฟิก  3100x1800 - mohamed hassan ...
ที่มา https://pxhere.com/th/photo/1569711


  

 3.การตรวจสอบเอกสาร การจัดเตรียมอุปกรณ์และการเตรียมตัวปฎิบัติงาน ขั้นตอนนี้สำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ควรตรวจสอบแท็ก(Tag)กระเป๋าเพื่อกันสัมภาระหาย และต้องติดบัตรประจำตัวนักที่องเที่ยว ในกรณีที่หลงทางหนือต้องการความช่วยเหลือจะได้สะดวก นอกจากนี้ไกด์ต้องเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการอำนวยความสะดวกให้กับลูกทัวร์ เช่น อาหารว่างและเครื่องดื่ม อุปกรณ์ในการทำกิจกรรม



3 เทคโนโลยี ที่จะทำให้การท่องเที่ยวของคุณเป็นอิสระจากทัวร์ | G-ABLE
 4.การปฏิบัติหน้าที่ในะหว่างการเดินทาง  ต้องเดินทางไปยังจุดนัดพบก่อนเวลานัดหมายอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ควรตรวจสอบทุกอย่างให้เรียบร้อย เช่น น้ำดื่ม อาหาร กล่องปฐมพยาบาล ความพร้อมของคนขับรถ ในกรณีที่มีรถนำทัวร์หลายคัน ควรต้องมีป้ายบอกลักษณะของรถทัวร์เพื่อป้องกันการขึ้นรถผิดคัน ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวที่หลงทางหรือเลท ในกรณีที่ลูกทัวร์เลทมากจนเกินไป ไกด์จำเป็นต้องแจ้งให้กับบริษัทนำเที่ยวทราบและทำตามแแพลนทัวร์ต่อไปเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนของแผนทัวร์



สาระน่ารู้ก่อนเดินทาง - Bestworldtravel
ที่มา https://www.bestworldtravel.net/content


ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของมัคคุเทศก์ ไกด์ต้องมีประสบการณ์ในการวางแผนทัวร์ให้รัดกุมและมีความเหมาะสมกับลูกทัวร์แต่ละครั้ง ต้องรู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ดำเนินการทัวร์ต่อไปได้ตามแผน และไกด์จำเป็นต้องเตรียมเนื้อหาการพูดบรรยายให้มีความกระซับแต่เนื้อหาครบถ้วนตามข้อมูลเบื้องต้นของแต่ละสถานที่และข้อมูลจำเป็นของสถานที่ให้ลูกทัวร์ได้รับทราบและปฎิบัติตาม เช่น การแต่งกายในการเข้าพุทธสถาน เพื่อให้แผนทัวร์ที่วางเอาไว้เป็นไปได้ด้วยดี อีกทั้งยังสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาให้บริการ



ททท.งัด7คัมภีร์ Go Local  บุกครึ่งหลังปี'61ต่อยอด4เดือนแรก55เมืองรองโกย8หมื่นล้าน
ที่มา https://www.matichon.co.th/publicize/news_1018615







วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563

มี 3 คุณสมบัตินี้ก็เป็นมัคคุเทศก์ที่ดีได้

คุณสมบัติของการเป็นไกด์ที่ดี

มัคคุเทศก์ หรือไกด์ - Website1_60_Bp
ที่มาhttps://sites.google.com/site/website160bp/makhkhuthesk-hrux-kid


        มัคคุเทศก์ หรือ ไกด์ เป็นอาชีพที่มีความสำคัญมากในวงการการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งประเทศไทยรายได้ของเศรษฐกิจส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว โดยเฉพาะรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพราะแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยมีความสวยงามมากมาย และค่าครองชีพถูก จึงทำให้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวนานาประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีไกด์เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว รวมไปถึงควบคุมดูแลไม่ให้นักท่องเที่ยวทำลายสถานที่ท่องเที่ยวโดยไม่รู้ตัวและละเมิดกฏเกณฑ์ของประเทศไทย


    โดยมัคคุเทศก์ที่ดีควรมีคุณสมบัติ 3 ข้อต่อไปนี้

           1.กระบวนการทำงานของมัคคุเทศก์
 - เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงประวัติของสถานที่ท่องเที่ยวแบบสั้นๆ กระชับและครอบคลุมใจความสำคัญ เช่น การเปรียบเทียบยุคสมัยในการสร้างวัดไทยกับยุคสมัยของอารยะธรรมตะวันตก (ในกรณีที่นักท่องเที่ยวเป็นชาวตะวันตก )
- เมื่อนักท่องเที่ยวเป็นชาวต่างชาติ ยอมไม่ทราบถึงกฏกติกาข้อควรปฏิบัติในประเทศไทยตามขนบธรรมเนียม
ประเพณีอยู่แล้วดังนั้น ไกด์ต้องบอกข้อควรปฏิบัติและข้อไม่ควรปฏิบัติแก่นักท่องเที่ยวด้วยเพื่อความสะดวกใน
การเข้าชมสถานที่ เช่น การแต่งกายเข้าวัดไม่ควรใส่เสื้อกล้ามและกางเกงขาสั้น หรือ ควรถอดรองเท้าก่อนเข้าวัด
- ไกด์ควรบอกจุดห้องน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว และบอกจุดต่าง ๆ ที่นักท่องเที่ยวอาจ
ได้รับอันตรายได้หากไม่ระมัดระวัง เช่น ทางต่างระดับ เก็บของที่มีความแวววาวให้มิดชิดเพราะลิงอาจจะเข้ามา
ขโมยของได้
 - ไกด์ควรจะต้องปฏิบัติตามตารางทัวร์เป็นหลัก แต่ถ้าเวลามีความคลานเคลื่อน ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของไกด์เอง


พระบรมหาราชวัง และวัดพระแก้วฯ – SomethingJAM!
ที่มา https://www.somethingjam.com/the-grand-palaceth      


         2.เนื้อหาที่มัคคุเทศก์ควรนำเสนอ

    - เนื้อหาในการบรรยายของไกด์ควรครอบคลุมข้อมูลพื้นฐานของสถานที่นั้น ๆ
[หรือ 5W+1H = What,Were,When,Why,Who and How] เช่น นี่คืออะไร? สร้างขึ้นเมื่อไร? ทำไมถึงสร้างขึ้นมา?
   - หากนักท่องเที่ยวมีคำถาม ไกด์ควรตอบคำถามสั้น ๆ เพื่อป้องกันการถามต่อที่อาจจะกินเวลาทัวร์และทำให้
นักท่องเที่ยวที่ไม่ได้มีความสนใจจนเกิดเป็นความน่าเบื่อจนเกินไป
   - ไกด์ต้องรู้จุดหรือสถานที่ที่ต้องการบรยายข้อมูล มีการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
เช่น การเชื่องโยงลักษณะความแตกต่างของพระพุทธรูปสุโขทัยกับพระพุทธรูปอยุธยา
   - ควรตั้งคำถามให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมและควรยกตัวอย่างหรือการเปรียบเทียบประกอบความเข้าใจ



ญี่ปุ่นปลดล็อคมัคคุเทศก์ไม่ต้องมีใบอนุญาต รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ที่มา https://mgronline.com/japan/detail/9600000054739


        3.เทคนิคการนำชมและการพูดของมัคคุเทศก์

- ก่อนอื่นไกด์ต้องมีบุคคลิกที่ดี มีความมั่นใจ ควรแนะนำตัวเอง ยิ้ม และสบตากับนักท่องเที่ยว เพื่อสร้างมิตรภาพและความเป็นกันเองให้แก่นักท่องเที่ยว

- เมื่อจะเข้าไปชมสถานที่ ไกด์ต้องรู้จุดที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกสบายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น ไกด์พานักท่องเที่ยวไปยืนตรงใต้ร่มไม้เพื่ออธิบายข้อมูลสถานที่ และเป็นจุดที่หลบทางให้แก่นักท่องเที่ยวคนอื่นที่มาด้วย และต้องรู้จุดที่จะทำให้นักท่องเที่ยวได้ชมจุดไฮไลท์ของสถานที่ต่าง ๆ ได้ครบและสวยงามอย่างที่นักท่องเที่ยวต้องการ

- ลักษณะในการพานำชมทัวร์ที่ดี ไกด์จะต้องพาเดินและหันกลับมาเช็คนักท่องเที่ยวเป็นระยะๆ เพื่อเช็คว่านักท่องเที่ยวในกลุ่มทัวร์ได้เดินตามมาครบทุกคนหรือไม่ เพื่อป้องกันการหลงทาง

 - ลักษณะการพูดที่ดี ไกด์ต้องมีเทคนิคการพูดที่ดึงดูดความสนใจ มีการใช้เสียงหนักเสียงเบาเพื่อให้เนื้อหาน่าสนใจ รวมทั้งใช้ภาษากายในการทำท่าทางประกอบการบรรยาย แต่ไม่ควรใช้มากโดยไม่จำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดความสับสนของนักท่องเที่ยว เช่น เอามือปะสานกันไว้ด้านหน้าเพื่อไม่ให้แกว่งมือไปมา อีกทั้งยังสามารถนำลักษณะเด่นในการจำแนกความสำคัญของวัตถุเพื่อให้ลูกทัวร์และไกด์ง่ายต่อการทำความเข้าใจและอธิบาย เช่น สีของเจดีย์ นอกจากนี้ยังสามารถนำรูปภาพมาใช้ประกอบการบรรยายได้ เพราะสถานที่ท่องเที่ยวอาจมีข้อจำกัดในพื้นที่ในการอธิบาย เพื่อไม่ให้เกิดความแออัดและขวางทางนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น ก็สามารถนำรูปภาพมาประกอบการบรรยายก่อนเข้าไปในสถานที่จริง

    - ลักษณะการยืนพูด ไกด์ควรยืนหันหน้าให้กับลูกทัวร์หรือยืนหัน 45 องศาให้กับสถานที่หรือวัตถุที่ต้องการอธิบาย เพื่อให้เสียงที่พูดนักท่องเที่ยวได้ยินกันทุกคนและเป็นการสำรวจนักท่องเที่ยวไปด้วยว่าสนใจในเรื่องที่อธิบายอยู่หรือไม่

    - เมื่อบรรยายเสร็จแต่ละครั้งควรเปิดช่วงให้ลูกทัวร์เพื่อสอบถามข้อมูล หรืออาจจะตั้งคำถามแก่นักท่องเที่ยวเพื่อให้มีส่วนร่วม

ที่มา https://www.scholarship.in.th/part-time-job-practice-english/
      อาชีพมัคคุเทศก์ หรือ ไกด์ เริ่มมีบทบาทน้อยลงในวงการการท่องเที่ยว เมื่อในปัจจุบันนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกที่จะไปเที่ยวด้วยตนเอง หรือ แบ็คแพ็ค ไปเที่ยวกับเพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางที่ไม่ต้องรอการรวมกลุ่มกันใหญ่ ๆ อีกต่อไป นอกจากนี้ความพัฒนาของเทคโนโลยีในปัจจุบันเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกเป็นอย่างมาก หากต้องการไปเที่ยวเองก็ง่ายในการหาข้อมูล ทำให้มัคคุเทศก์ต้องเริ่มปรับตัวให้เข้ากับยุคโลกาภิวัฒน์ให้ได้ เช่น การขายโปรแกรมทัวร์ผ่านโซเซียลมิเดีย ซึ่งในปัจจุบันจึงเริ่มมีการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ที่หลากหลายให้เราได้พบเห็นกันและได้ไปสัมผัสกับบรรยากาศของการผ่อนคลายในการท่องเที่ยวในประเทศไทย