วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563

พระราชวังมัณฑะเลย์ (Mandalay Royal Palace)

พระราชวังมัณฑะเลย์ (Mandalay Royal Palace, Mandalay, Myanmar)

    สวัสดีค่ะทุกคนครั้งนี้เราจะพาทุกคนไปชมโบราณสถานที่สำคัญของประเทศเมียนมาร์ นั้นคือ พระราชวังมัณฑะเลย์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเมืองทองแห่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แต่กลับเป็นพระราชวังแห่งสุดท้ายของมัณฑะเลย์ และของเมียนมาร์ เมื่อถึงยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ซึ่งอังกฤษได้ผนวกเมียนมาร์เข้าเป็นอาณานิคมของตนเอง และเชิญพระเจ้าทีปอกับพระนางสุภายาลัด กษัตริย์องค์สุดท้ายของเมียนมาร์เสด็จออกนอกประเทศ ไปประทับที่อินเดียจนสิ้นพระชนม์ที่นั่น และช่วงสงครามโลกพระราชวังหลวงที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังก็ถูกทำลายจนสิ้น ปัจจุบันได้มีการบูรณะพระราชวังขึ้นมาใหม่เป็นบางส่วนแต่ก็มิได้สวยงามเท่าของเดิม เป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การไปเยือน

ที่มา : https://www.wonderfulpackage.com/article/v/711/

ประวัติความเป็นมา

   เมืองมัณฑะเลย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอิระวดี อดีตเมืองหลวงที่สำคัญของประเทศเมียนมาร์  พระราชวังมัณฑะเลย์ถูกสร้างขึ้นมาโดยพระเจ้ามินดง ในปีปี ค.ศ. 1857 หลังการย้ายเมืองหลวงจากอมระปุระมายังมัณฑะเลย์ เพื่อหนีทหารของจักรวรรดิอังกฤษ ระหว่างสงครามพม่า-อังกฤษ   

  พระเจ้ามินดงทรงสุบินเห็นภูเขามัณฑะเลย์ โหรหลวงได้ทำนายว่าต้องสร้างราชธานีใหม่ ณ ที่แห่งนี้ พระองค์จึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงจากอมรปุระมายังเมืองมัณฑะเลย์ โดยรื้อพระราชวังเดิมนำมาสร้างใหม่ สร้างขึ้นตามผังภูมิจักรวาลแบบพราหมณ์ปนพุทธ โดยสมมุติให้เป็นศูนย์กลางของโลก (เขาพระสุเมรุ) 

     ในการก่อสร้างเป็นพระราชวังที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ได้ชื่อว่ามีความงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย มีคูน้ำรอบพระราชวังและประตูที่ยิ่งใหญ่ และเป็นพระราชวังที่สุดท้ายของพระเจ้าธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์คองบองและในประวัติศาสตร์พม่า เมื่ออังกฤษเข้ายึดครองพม่าในสงครามโลกครั้งที่สอง ทางอังกฤษคิดว่าพระราชวังนี้เป็นแหล่งซ่องสุมของทหารญี่ปุ่น จึงได้ทำลายพระราชวังด้วยการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1945 พระราชวังตกอยู่ในความเสียหายมาโดยตลอด จนปัจจุบันได้รับการบูรณะโดยรัฐบาลพม่า โดยการลอกแบบโครงสร้างเดิม เพราะฉะนั้นลวดลายและฝีมือการแกะสลักจึงไม่สวยงามและละเอียดละออเท่ากับของเดิม ซึ่งสามารถไปดูลวดลายการแกะสลักที่คล้ายคลึงกันได้ที่ วิหารชเวนั้นดอร์ ซึ่งเป็นวัดที่มีการแกะสลักไม้สักปิดทองที่ยังไม่ถูกทำลายและยังคงสภาพได้อย่างสมบูรณ์


สถาปัตยกรรมพระราชวังมัณฑะเลย์

รูปแบบศิลปะ : ศิลปะสมัยอมรปุระและมัณฑะเลย์ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23

ผู้สร้าง : พระเจ้าบินดง ปี ค.ศ. 1857

ลักษณะเด่น : มีการสร้างหลังคาเป็นปราสาท หรือ ปยาธาตุ ลักษณะเป็นแบบเรือนชั้นซ้อนแบบพม่า และการแกะสลักไม้ปิดทองที่เป็นเอกลักษณ์และมีความละเอียดงดงาม

พระราชวังมีรูปแบบแผนผังการสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวด้านละ 2 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบพระราชวัง และมีกำแพงที่สร้างด้วยอิฐสูงประมาณ 8 เมตร ยอดกำแพงเป็นรูปใบเสมา รอบล้อมพระราชวัง ซึ่งกำแพง ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นปราการป้องกันข้าศึก  แต่สร้างไว้เพื่อแสดงว่า พื้นที่ภายในวงล้อมของกำแพงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากกว่า

ที่มา https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/83462.html
ที่มา https://www.dplusguide.com/2017/mandalay-story/

    มีประตูเข้าสู่พระราชวังทั้งหมด 4 ทิศ ทิศละ 3 ประตู รวมเป็น 12 ประตู แต่ประตูที่ใช้ได้จริงมีเพียงประตูทางทิศตะวันออกเท่านั้น เพราะมีสะพานที่สามารถข้ามเข้าไปได้ นอกนั้นเป็นประตูหลอก ยกเว้นแต่ประตูทางทิศตะวันตก เป็นประตูผี ที่มีความเชื่อว่าใช้สำหรับขนคนที่ตายแล้วออกจากวังเท่านั้น แต่ในช่วงที่อังกฤษเข้ามาเป็นเจ้าอาณานิคมได้บังคับให้พระเจ้าตี่ป่อและพระนางสุภายาลัด เสด็จด้วยเกวียนเทียมโคออกไปลงเรือที่แม่น้ำอิรวดีด้านประตูทางทิศตะวันตก ซึ่งถือเป็นการหมิ่นพระเกียรติอย่างร้ายแรง ในปัจจุบันรัฐบาลพม่า ยังไม่ยอมซ่อมสะพานที่ข้ามผ่านประตูผีแห่งนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์อันเจ็บปวดที่ถูกอังกฤษกระทำย่ำยีศักดิ์ศรี

ที่มา http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/10/K8404784/K8404784.html


    ภายในปราสาทถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ชั้นนอก เป็น หมู่มหามณเฑียร ลักษณะจะเป็นท้องพระโรง 3    หลังติดกัน เป็นสถานที่ที่ใช้ประชุมของเหล่าเสนาบดีและขุนนาง ปัจจุบันถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์ภายในพระราชวังมัณฑะเลย์ จัดแสดงสิ่งของที่หลงเหลืออยู่ และได้รับคืนบางส่วนจากอังกฤษหลังได้รับเอกราช แต่ทรัพย์สมบัติจำนวนมากก็ยังคงอยู่ที่อังกฤษ

ที่มา https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/83462.html

ชั้นกลาง ใจกลางพระราชวังเป็นห้องพระมหาปราสาทที่ประดิษฐานสีหาสนบัลลังก์ นอกจากนี้ยังมีพระที่นั่งมยีนันซึ่งสร้างด้วยไม้ แล้วหุ้มด้วยแผ่นทอง 7 ชั้น สูงถึง 78 เมตร เป็นจุดศูนย์กลางของพระราชวัง ดังเขาพระสุเมรุที่เป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล และด้านหลังของพระที่นั่งมยีนัน เป็นพระที่นั่งสายตะหวุ่นสาง ที่ประดิษฐานหงสาสนบัลลังก์ ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันธุกะต่างแดน

ที่มา https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/83462.html


และชั้นใน เป็นตำหนักของพระมเหสี พระสนมและวงศานุวงศ์ขนาดเล็กลงมาตามลำดับความสำคัญ ลักษณะเด่นจะเป็นเรือนไม้สักสีแดง ซึ่งเป็นพื้นที่ห้ามคนนอกเข้ายกเว้นกษัตริย์และทหารรักษาการณ์ ซึ่งคาดว่าตำหนักในชั้นในมีประมาณ 45-48 หลังตามจำนวนของพระสนมของพระเจ้าบินดง 

ที่มา https://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=334

 **จะมีเพียงส่วนชั้นนอกและชั้นกลางเท่านั้นที่สามารถเข้าไปได้ ในส่วนอื่นไม่อนุญาตให้เข้าชมและห้ามถ่ายรูป เพราะเป็นที่ตั้งของทหาร มีการรักษาความปลอดภับที่เข้มงวด

    นอกจากนี้ยังมีหอคอยไม้บันไดเวียน เป็นหอคอยที่ใช้มองเมืองมัณฑะเลย์ และสังเกตุการณ์โดยรอบพระราชวังด้านข้างมีอาคารแบบตะวันตก มีสระน้ำแบบชาวโรมัน ซึ่งพระเจ้าสีป่อสั่งให้ช่างชาวอิตาลีสร้างขึ้นในภายหลัง

ที่มา https://www.dplusguide.com/2017/mandalay-story/

ที่มา https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/83462.html


การเดินทางไปยังพระราชวังมัณฑะเลย์

    - รถแท็กซี่ เป็นทางเลือกหลักในการเดินทางภายในเมืองต่างๆของพม่า เนื่องจากในพื้นที่ยังไม่มีบริการรถสาธารณะประเภทอื่นๆ นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถแท็กซี่ทั้งจากรถของโรงแรมที่พักต่างๆ หรือตามท้องถนน ทั้งนี้อัตราค่าบริการจะเป็นราคาแบบเหมา ทั้งการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง หรือการเหมาท่องเที่ยวแบบ 1 วัน โดยอัตราค่าโดยสารต่อเที่ยวไปยังจุดต่างๆเริ่มต้นตั้งแต่ 3,000  จ๊าด ส่วนอัตราเหมาต่อ 1 วันอยู่ที่ประมาณ USD 50-90 โดยอัตราค่าโดยสารทั้งสองรูปแบบอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพรถ จุดหมาย และระยะทางในการเดินทาง
    - มอเตอร์ไซค์เช่า เป็นวิธีการเดินทางราคาประหยัดสำหรับนักท่องเที่ยว โดยในเมืองมัณฑะเลย์นั้นมีร้านเช่ามอเตอร์ไซค์อยู่จำนวนมาก บางโรงแรมก็มีให้บริการเช่นกัน โดยค่าเช่าต่อวันจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 – 30,000 จ๊าด ขึ้นอยู่กับชนิดของมอเตอร์ไซค์ที่ต้องการ และยังไม่รวมค่าน้ำมันระหว่างวัน

เวลาในการเปิด-ปิดทำการ : พระราชวังมัณฑะเลย์เปิดทำการทุกวันตั้งแต่ 07.30 – 16.30 น.

การซื้อบัตรเข้าชม : สถานที่สำคัญต่างๆในเมืองมัณฑะเลย์มีการจำหน่ายบัตรเข้าชมแบบรวม ซึ่งมีชื่อว่า Mandalay Archaeological Zone ticket ราคา USD 10 หรือ 10,000 จ๊าด (ประมาณ 250 บาทไทย) สามารถใช้เข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวทุกแห่งในเมืองมัณฑะเลย์ สามารถหาซื้อได้ตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆที่อยู่ภายในเมือง บัตรมีอายุ 5 วัน



ข้อแนะนำ : แม้ว่าสถานที่ต่างๆในประเทศพม่าทั้งสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม และร้านอาหาร จะรับชำระเงินทั้งในสกุลจ๊าด และสกุลดอลล่าร์ แต่สำหรับการใช้จ่ายทั่วไป เช่นการขึ้นรถ หรือจ่ายค่าอาหาร การจ่ายเงินเป็นสกุลจ๊าดจะได้เรทที่ค่อนข้างดีกว่าและถูกกว่าการจ่ายเป็นสกุลดอลล่าร์
 




เอกสารอ้างอิง

วีระพล   ศรีหลัก .(มปป).ประวัติพระราชวังมัณฑะเลย์ พม่า.สืบค้นเมื่อ 14/10/2563
จากเว็บไซต์ https://sites.google.com/site/hongkhaphrarachwangphma/pra-wati-hong-kha/prawati-phra-rach-wang-manth-a-ley-phma

CAMPUS.(2560).พระราชวังมัณฑะเลย์ ความงดงาม กับเรื่องราวประวัติศาสตร์น่าเศร้าใจ – พม่า.สืบค้นเมื่อ 14/10/2563 จากเว็บไซต์ https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/83462.html

Webmaster. (2563).พระราชวังมัณฑะเลย์ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า สืบค้นเมื่อ 14/10/2563 
จากเว็บไซต์ https://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=334

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น