วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พระโพธิสัตว์ในนิกายมหายาน:พระอวโลกิเตศวร


             สวัสดีค่ะทุกคน ครั้งนี้เราไม่ได้นำเสนอเรื่องมรดกโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กันแล้วนะคะ ครั้งนี้เราจะมานำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ที่อยู่ในนิกายมหายาน ซึ่งเป็นนิกายส่วนหนึ่งของพุทธศาสนา โดยเราจะมาพูดถึงหนึ่งในพระโพธิสัตว์ที่สำคัญในนิกายมหายานนั้นก็คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีคนสักการะนับถือมากที่สุดในนิกายมหายานกันนะคะ

ที่มา : http://wanidasiobhan.blogspot.com/2012/11/blog-post_3204.html

          พระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีความสำคัญและมีผู้คนให้การเคารพนับถือมากที่สุดในนิกายมหายาน มีการนับถือกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็น จีน ทิเบต มองโกลเลีย เกาหลี ญี่ปุ่น ญวน(ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) โดยจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันและการผสมผสานลักษณะของพระอวโลกิเตศวรเข้ากับเทพพื้นเมืองของตนเอง ทำให้พระโพธิสัตว์ของแต่ละที่มีความแตกต่างกัน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรจากทุกที่
ที่มา : สำนักข่าวทีนิวส์

   การกำเนิดพระโพธิสัตว์ในทิเบตโบราณมีอยู่ 2 เหตุผลด้วยกัน นั้นคือ
      1. เชื่อกันว่า ในกัล์ปก่อนมีพระภิกษุรูปหนึ่งที่มีความกรุณาเมตตาต่อสรรพสัตว์มาก และเมื่อมาถึงกัล์ปปัจจุบันพระรูปนี้ได้อวตารลงมาเป็นพระอวโลกิเตศวร
     2. เชื่อกันว่า พระอวโลกิเตศวรเป็นองค์อวตารของผู้ที่มีความกรุณาเมตตาอันยิ่งใหญ่ เป็นพระโพธิสัตว์ที่เป็นเทวดาอวตารลงมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อทำหน้าที่นำความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับพระอวโลกิเตศวรมาบอกกล่าวแก่มวลมนุษย์

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์#/media/File:A_thangka_(religious_painting),_School_of_Traditional_Arts,_Thimphu.jpg

ความหมายของพระนาม
  ชื่อ อวโลกิเตศวร นั้นมีการนิยามความหมายได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
       คำว่า อวโลกิเตศวร มาจากคำสันสกฤตสองคำคือ อวโลกิต กับ อิศวร แปลได้ว่าผู้เป็นใหญ่ที่เฝ้ามองจากเบื้องบน หรือพระผู้ทัศนาดูโลก ซึ่งหมายถึงเฝ้าดูแลสรรพสัตว์ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์
       การนิยามคำว่า อิศวร   เป็นเสมือนตำแหน่งที่ติดมากับพระนามอวโลกิตะ จึงถือได้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์เดียวที่มีตำแหน่งระบุไว้ท้ายพระนาม ในขณะที่พระโพธิสัตว์พระองค์อื่นไม่มี แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความสำคัญของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้
       ส่วนของจีนนั้น มีการนิยามชื่อ กวนซีอิม หรือ กวนอิม ซึ่งก็มีความหมายว่า ผู้เพ่งสดับเสียงแห่งโลก หรือ พระผู้สดับฟังเสียงคร่ำครวญของสัตว์โลกที่กำลังทุกข์

[​IMG]
ที่มา : https://palungjit.org/threads/กำเนิดของพระอวโลกิเตศวร.286796/

          พระอวโลกิเตศวรเป็นพระโพธิสัตว์ในฐานะธยานิโพธิสัตว์  นั้นคือ เป็นพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีบริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว และสำเร็จเป็นพระธยานิโพธิสัตว์หรือพระโพธิสัตว์ในสมาธิโดยยับยั้งไว้ยังไม่เสด็จเข้าสู่พุทธภูมิ เพื่อจะโปรดสรรพสัตว์ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มีทิพยบุคคลที่มีลักษณะเหมือนเทพยดา มีคุณชาติทางจิตเข้าสู่ภูมิธรรมขั้นสูงสุดและทรงไว้ซึ่งพระโพธิญาณอย่างมั่นคง จึงมีสภาวะที่สูงกว่าพระโพธิสัตว์ทั่วไป มักจะมีภูมิหลังที่ยาวนาน เป็นพระโพธิสัตว์ที่สำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์มานานนับแต่สมัยพระอดีตพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ไม่สามารถคาดเดาเวลาได้

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ที่มา : thapra.lib.su.ac.th

           เนื่องจากพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรมีผู้คนเคารพนับถือมากที่สุดในบรรดาพระโพธิสัตว์ในนิกายมหายาน จึงมีการสร้างสรรค์รูปแบบศิลปะที่หลากหลายและค่อนข้างที่จะแตกต่างกัน ดังที่จะนำเสนอดังนี้
          รูปแบบศิลปะพระอวโลกิเตศวรในทิเบต  
          พระอวโลกิเตศวรของทิเบตนั้นจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับต้นแบบที่อินเดียเพราะได้รับอิทธิพลมาอย่างแรงกล้าอีกทั้งยังเป็นผู้ชายซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นแบบของพระโพธิสัตว์องค์ต่างๆ พระอวโลกิเตศวรนั้นจะมีปางต่างๆทั้งหมด 7 ปาง คือ

 - อโมฆปาสะ แปลว่า ปางผู้มีบ่วงไม่ว่างเปล่า
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อโมฆปาสะ
ที่มา : วิกิพีเดีย

- วรสหัสรภุชโลจนะ หรือ สหัสภุชสหัสเนตร แปลว่า ปางผู้มีพันหัตถ์ และพันเนตร
[​IMG]
ที่มา : https://palungjit.org/threads/กำเนิดของพระอวโลกิเตศวร.286796/


- หยะครีวะ แปลว่า ปาง ผู้มีเศียรเป็นม้า
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ที่มา : oknation.nationtv.tv


- เอกาทสทุกขะ แปลว่า ปางผู้มี 16 พักตร์
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ที่มา : playcast.ru

- จุนที แปลว่า ปางผู้เป็นเทพธิดานามว่าจุนที
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระโพธิสัตว์จุนที
ที่มา : Topicstock - Pantip

- จินตามณีจักระ แปลว่า ปางผู้มีจินตามณีจักร
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระโพธิสัตว์จินตามณีจักระ
ที่มา : กองบุญหมื่นฟ้า

- อารยโลกิเตศวร แปลว่า ปางผู้เป็นใหญ่ผู้ประประเสริฐที่คอยสอดส่องดูแลโลก
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ที่มา : Google Sites


รูปแบบศิลปะพระอวโลกิเตศวรในจีน 
          เป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่ลักษณะที่มีความแตกต่างและโดเด่นกว่าทุกๆที่ นั้นคือ เป็นพระพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่เป็นผู้หญิง ซึงเป็นการผสมผสานระหว่างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรจากอินเดียเข้ากับเทพพื้นเมืองของจีน จึงมีพระนามว่า กวนซีอิม หรือ กวนอิม ที่เราเคยได้ยินชื่อผ่านมาบ้างจากศาลเจ้าของจีนในชื่อ เจ้าแม่กวนอิม

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ที่มา : iamcrossstitch.com
รูปแบบศิลปะพระอวโลกิเตศวรในศรีวิชัย

          เป็นรูปแบบศิลปะที่ได้รับมาจากอินเดียในยุคของคุปตะและหลังคุปตะ ซึ่งจะทำด้วยศิลาและสำริด แต่สร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรด้วยสำริดถึงว่าเป็นลักษณะเด่นที่แตกต่างและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะศิลปะศรีวิชัย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ศิลปะศรีวิชัย
ที่มา : Google Sites

รูปแบบศิลปะพระอวโลกิเตศวรในจาม

          เนื่องจากอาณาจักรจามในสมัยนั้นได้มีความผูกพันธ์มิตรไมตรีอันดีกับอาณาจักรศรีวิชัย อีกทั้งยังมีการติดต่อ ค้าขายกันมาอย่างยาวนาน ทำให้จามได้รับอิทธิพลพุทธศาสนานิกายมหายานเข้ามาด้วย ซึ่งมีรูปแบบการสร้างรูปปั้น แกะสลักพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่คล้ายคลึงกับศิลปะศรีวิชัย 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในเวียดนาม
ที่มา : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

          นี่ก็เป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในพุทธศาสนานิกายมหายาน พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้คนเคารพนับถืออย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอาเซียนก็เราก็ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนามหายานเข้ามาด้วยเช่นกัน ดังนั้น อิทธิพลของศาสนาจะเป็นแรงศรัทธาและแรงบรรดาลใจให้กับมนุษย์ของเราได้อย่างแรงกล้า ในการสร้างสรรค์รูปแบบก็ศิลปะและวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดอยู่ก็ตาม






เอกสารอ้างอิง

       วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. มูลนิธิวิกิมีเดีย.(มปป).พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร.สืบค้นเมื่อ 17/11/2561
จากเว็บไซต์ https://th.wikipedia.org/wiki/พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

       arthur04.(2554).ประวัติขององค์โพธิสัตว์อวโลกิเตศวร .สืบค้นเมื่อ 17/11/2561
จากเว็บไซต์ http://oknation.nationtv.tv/blog/arthur05/2011/04/05/entry-1

       เสถียร โพธินันทะ.(มปป).เรื่องพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์.สืบค้นเมื่อ 17/11/2561
จากเว็บไซต์ http://www.dharma-gateway.com/ubasok/satien/ubasok-14.htm

       janepat2549.(2554).กำเนิดของพระอวโลกิเตศวร​.สืบค้นเมื่อ 17/11/2561
จากเว็บไซต์  https://palungjit.org/threads/กำเนิดของพระอวโลกิเตศวร.286796/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น